ถมที่ดินและฮวงจุ้ย

ในปัจจุบันที่มีการเจริญของธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สูงขนาดนี้ ทั้งคอนโด บ้านทาวเฮาส์ บ้านเดี่ยว ทำให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างจำพวกที่อยู่อาศัยกันค่อนข้างมาก โดยนิยมสร้างกันบนพื้นที่ดินเปล่าๆ ซึ่งทำให้การถมที่เข้ามามีบทบาทนั่นเอง เพราะการถมที่ดินนั้นสำคัญต่อโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างมาก การมีรากฐานของสิ่งปลูกสร้างในดินที่ไม่แข็งแรงหรือหนาแน่นพอ เมื่อตอกเสาเข็มของของสิ่งปลูกสร้างลงไป จะทำให้เสาเข็มไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้และอาจจะทำให้สิ่งปลูกสร้างพังลง หรือว่าพื้นที่ดินบางส่วนอาจเกิดการทรุดตัวลงได้ ดังนั้นจุดที่สำคัญที่สุดต่อรากฐานของสิ่งปลูกสร้างก็คือความแข็งหรือความแน่นของพื้นดิน โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้างจำจำพวกที่อยู่อาศัยซึ่งมีอายุการใช้งานนานมาก
                แต่บางครั้งการถมที่ดินก็ไม่ได้มีประโยชน์เพื่อความแข็งแรงของสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว แต่มีการนำมาใช้เพื่อแก้ดวงแล้ว ซึ่งเป็นการปรับสภาพที่ดินตามหลักฮวงจุ้ยนั่นเอง เช่น ดินที่นำมาถมดินหรือปรับระดับพื้นที่ดินนั้นต้องเป็นดินที่ดีคือ มาจากแหล่งที่สะอาด ไม่มีชิ้นส่วนของขยะ เศษปูหรือเศษหินติดมา และไม่ใช่ดินที่นำมาจากแหล่งที่ไม่ดีหรือดินจากในพื้นที่ที่เคยเกิดเรื่องไม่ดี  หรือที่ดินของบ้านนั้นควรจะสูงกว่าระดับถนน ตามหลักฮวงจุ้ยบอกเอาไว้ว่าบ้านที่ยกพื้นดินสูงจะเป็นมงคล แต่ถ้าสูงกว่าถนนหน้าบ้านมากๆ จะทำให้ทรัพย์ไหลเข้าบ้านลำบาก ไม่ราบรื่น เหมือนมีภูเขาหรือเขื่อนกั้นอยู่หน้า บ้าน  หรือที่ดินที่ดีต้องเป็นลักษณะของเนินหลังเต่า คือ บ้านไม่มีลักษณะรับน้ำหรือไม่มีการขังของน้ำ เป็นต้น
                ซึ่งทำให้เห็นว่าปัญหาอีกอย่างหนึ่งในเรื่องของการถมที่ดินก็คือเรื่องการไหลของน้ำ เพราะประเทศไทยมีหน้าฝนที่มีน้ำมาก เวลาฝนตกด้วยอาจจะทำให้เกิดการท่วมขังของน้ำได้ หลักฮวงจุ้ยจึงบอกว่า บ้านต้องไม่อยู่ในตำแหน่งรับน้ำ หรือน้ำไหลชนตัวบ้าน และที่ดินควรเป็นแบบเนินหลังเต่า ซึ่งทางหลักวิศวกรรมจึงนำมาใช้ในการถมที่จนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
                นอกจากนี้การถมที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน ยังกำหนดดินที่นำมาถมด้วย ซึ่งลักษณะดินที่มีคุณภาพดีในทางฮวงจุ้ยจะมาจากแหล่งที่สะอาด ไม่มีชิ้นส่วนของขยะ เศษปูหรือเศษหินติดมา และไม่ใช่ดินที่นำมาจากแหล่งที่ไม่ดีหรือดินจากในพื้นที่ที่เคยเกิดเรื่องไม่ดี  และดินที่ถูกนำมาใช้มักเป็นดินลูกรังหรือดินร่วนผสมดินเหนียว ซึ่งเป็นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก แหล่งที่มาของดินส่วนใหญ่จึงนำมาจากทุ่งนา ไร่สวนนั่นเอง