ทำความรู้จักกับการถมที่

การถมที่ หมายถึงการนำดินจากแหล่งอื่นมาถมอัดลงไปในที่ดินที่เราต้องการ เพื่อทำให้ที่ดินที่มีความแน่นหนาน้อยมีความหนาแน่พอกับการใช้งาน เช่น การก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนต่างๆ การถมที่ดินนั้นสำคัญต่อโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด เพราะการมีรากฐานที่ดินที่แน่นไม่เพราะ เมื่อตอกเสาเข็มของของสิ่งปลูกสร้างลงไป เสาเข็มก็จะไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้และอาจจะทำให้สิ่งปลูกสร้างพังลง หรือว่าพื้นที่ดินไม่มีความสม่ำเสมอกันก็อาจจะทำให้พื้นของสิ่งปลูกสร้างบางส่วนเกิดการทรุดตัวได้หากดินข้างล่างมีการทรุดตัวลง เพราะจุดที่สำคัญที่สุดต่อรากฐานของสิ่งปลูกสร้างก็คือความแข็งหรือความแน่นของพื้นดิน ซึ่งการถมที่นั้นจะมีรายละเอียดในการรับถมที่ดินลักษณะต่างๆที่แตกต่างกันไป ซึ่งการถมที่จะต้องมีการคำนวณปริมาณของดินที่ใช้ถม และ ต้องคำนวณก่อนว่าต้องการถมให้มีความสูงเท่าไหร่
                การคำนวณปริมาณดินหรือปริมาตรดินที่จะใช้ในการถมที่นั้นคิดจากความกว้างคูณยาวคูณสูงของพื้นที่ดินที่ต้องการจะถมนั่นเอง  ยิ่งพื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับกรณีพื้นที่กว้างๆ ก็ต้องใช้ดินมากขึ้น  ซึ่งผู้ที่จะทำการคำนวณให้เราก็คือ ผู้รับเหมาถมดิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือ วิศวกรที่ดูแลการก่อสร้าง ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการคำนวณนี้จะดูความเหมาะสมของระดับความสูงของดินที่จะถมยังบริเวณนั้น นอกจากนี้ความสูงของที่ดินยังเป็นตัวกำหนดราคาดินที่นำมาถมด้วยเพราะราคาของดินที่จะซื้อจะคิดจากราคาดินต่อหน่วย  โดยจะมีปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนดระดับความสูงของดินที่จะถม เช่น
พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่แบบใด ดินมีอ่อนตัวมากน้อยเพียงไร เคยเกิดปัญหาน้ำท่วมบ้างหรือไม่ ถ้าเคยดินสามารถอุ้มน้ำได้มากน้อยเพียงใด และระดับน้ำที่เคยท่วมมีความสูงที่สุดแค่ไหน
ระดับความสูงของท่อระบายน้ำสาธารณะในพื้นที่นั้น  ระดับความสูงของถนนที่อยู่ติดกับบริเวณพื้นที่ดินและระดับความสูงของพื้นที่บริเวณที่ใกล้เคียง เช่นบริเวณของเพื่อนบ้าน เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาของการระบายน้ำที่ไม่ดี
ระดับถนนใกล้เคียง ที่ดินของเราไม่ควรถมให้เสมอหรือต่ำกว่าถนน เพราะหากเมืองยังมีการเติบโตอยู่ ในอนาคตอาจจะมีการถมถนนให้สูงหรือกว้างขึ้น ที่ดินจึงควรมีความสูงเผื่อไว้
ระดับที่ดินข้างเคียง ปกติแล้วจะทำการถมที่ให้มีความสูงที่ใกล้เคียงกันหรือไม่สูงไปกว่ากันมากนัก
                โดยชนิดของดินที่นำมาถมมักจะใช้ดินลูกรังกัน เพราะมีลักษณะเนื้อดินที่ง่ายต่อการบดอัดให้ดินมีความแน่น หลังจากอัดที่ดินให้ดินแน่นและโพรงอากาศยุบตัวแล้วจะต้องทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ดินมีการยุบตัวลง จนกว่าดินจะมีความคงตัวก่อนจะทำการก่อสร้าง ประมาณ 6 เดือนหรือ 1 ปีหรือมากกว่านั้นหากเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ต้องการรากฐานที่แข็งแรงมากๆเช่นตึกสูง